การนอนหลับพักผ่อนหย่อนตัวลงบนที่นอน ถือเป็นกิจวัตรที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะเราต้องใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ของชีวิตเพื่อซุกบนหมอนนอนหลับตา แต่สำหรับบางคนนั้นกลับต้องมาประสบพบเจอกับการนอนไม่หลับ สร้างความทนทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ และที่สำคัญการนอนไม่หลับ อดนอนนั้นยังอาจนพไปสู่อาการผิดปิกติ หรือโรคต่าง ๆ ที่ร่างกายเราไม่ค่อยต้องการสักเท่าไหร่
อาการนอนไม่หลับ
อาการของการนอนไม่หลับนั้นไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัว แต่หลัก ๆ แล้วคือ ร่างกายไม่ได้พักผ่อน พยายามจะข่มตาหลับขับตานอนแต่สมองก็ไม่พร้อมจะนอนไปกับเรา บางครั้งหลับไปสักพักก็ต้องตื่นมา เป็นอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ต้องรู้สึกตัวกลางดึกอยู่บ่อย ๆ หรือบางคนที่ตื่นมาแล้วก็ไม่สามารถบังคับให้ตาปิดได้อีกครั้ง นำมาซึ่งอาการอ่อนเพลียไร้พลังในเช้าวันถัดไป
ความสำคัญของการนอนหลับ
อย่างที่บอกไปว่าเราต้องใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอนพัก นั่นเป็นเพราะ ในช่วงเวลากลางคืนที่เราจำเป็นต้องนอน ร่างกายทุกส่วนของเราจะได้รับการฟื้นฟูจากการทำงานหนักมาทั้งวัน แถมร่างกายยังปรับความสมดุลของฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตให้อยู่ในภาวะปกติ อีกทั้งในช่วงเวลานอนนั้นยังมีการหลั่งฮอร์โมนสำคัญ ๆ ออกมาด้วย เพราะฉะนั้นการทำให้ร่างกายตัดการรับรู้ต่อของสิ่งแวดล้อมจากการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
ผลกระทบของการนอนไม่หลับ
แต่ทว่าบางคนกลับต้องทนทุกข์ไม่อยู่สุขกับการนอน ต้องพานพบประสบกับปัญหานอนไม่หลับจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งมันทำให้ร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ อีกทั้งมันยังส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่อาจจะอยู่ในระดับปกติ โดยผลกระทบที่ตามติดชีวิตคนนอนนอนยังไงก็ไม่หลับ ก็จะมีดังนี้
1.ระบบภูมิคุ้มกันลดหลั่นประสิทธิภาพ
อย่างที่รู้กันดีว่าการนอนไม่หลับหรือการอดนอนบ่อย ๆ นั้น จะนำมาซึ่งโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น นั่นเป็นเพราะมันทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราต้องทำงานหนักขึ้นเพราะไม่ได้นอน โดยร่างกายจะมีปริมาณเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มมากขึ้นจากการมาคุ้มกัน ซึ่งต่อมาเม็ดเลือดขาวเหล่านี้จะสลายตัวไป ทำให้ความสามารถในต้านต่อต้านเชื้อโรค เชื้อไวรัส แบคทีเรียของร่างกายเราหายไปด้วย จึงเป็นที่มาว่าทำไมคนที่พักผ่อนไม่พอ จึงมักจะเป็นโรคหวัด หรือมีตุ่มคันขึ้น
- ระดับความเครียดพุ่งสูงปรอทแตก
โดยปกติแล้วเมื่อเราตอนเราตื่นนอนร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ออกมา เพื่อให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉงกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น แต่ยิ่งเราอ่อนเพลียมากเท่าไหร่ ฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้ก็จะยิ่งสูงมากเท่านั้น ยิ่งทำให้เรารู้สึกเครียดมากยิ่งขึ้น อาจส่งผลไปถึงระบบการกินที่ทำให้กินมากขึ้น นพไปสู่โรคเครียด โรคอ้วน โรคเบาหวานได้ เป็นต้น อีกทั้งความเครียดนั้นมันยังส่งผลกระทบต่อจิตใจในหลาย ๆ ด้านได้อีกด้วย
3.นอนไม่พอมากเท่าไหร่ มีโอกาสอ้วนมากเท่านั้น
หากร่างกายเรานอนไม่หลับ พักไม่พอ ร่างกายจะผลิตสารที่มีชื่อว่า เลปติน ได้ในปริมาณที่น้อยลง โดยสารเลปตินมีหน้าที่ในการควบคุมความอยากอาหาร ยิ่งมีปริมาณน้อยเท่าไหร่ ยิ่งอยากอาหารมากมากเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้วการที่เรานอนไม่พอส่งผลให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการกินโดยตรง อาจนำไปสู่โณคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันพอกตับ โรคไขมันต่าง ๆ ได้
4.สมาธิฟุ้งซ่าน ทำงานได้ไม่เต็มที่
การนอนไม่หลับนั้นส่งผลโดยตรงต่อเรี่ยวแรงในร่างกาย โดยร่างกายจะอ่อนเพลียง่วงซึมตลอดเวลาอย่างเห็นได้ชัด เมื่อสมองไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถจดจ่อสมาธิกับอะไรได้นาน งานที่ทำก็ลดประสิทธิภาพลง หรือไม่สามารถทำงานได้เลย ส่งผลให้เกิดเป็นความเครียดสะสม วิตกกังวล อาจเกิดเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้
5.โกรทฮอร์โมนไม่หลั่ง ร่างกายพังหลายส่วน
ในขณะที่เราหลับตอนกลางคืน ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน ออกมา โดยฮอร์โมนนี้มีหน้าที่หลักคือ ช่วยในการทำงานของสมอง ควบคุมปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อเนื้อเยื่อ และกระดูกภายในร่างกาย ไปจนถึงระบบเผาผลาญ อีกทั้งยังช่วยการทำงานของอินซูลิน และระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย หากว่าร่างกายขาดพักผ่อนไม่พอ โกรธฮอร์โมนไม่หลั่งออกมา อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น ไขมันในร่างกายสูง ระบบเผาผลาญพลังงานทำงานผิดปกติ อ่อนเพลีย มีปัญหาเรื่องความจำ กล้ามเนื้อและกระดูกไม่แข็งแรง เป็นต้น
6.ทุกข์ทรมาน จากระบบย่อยอาหาร ที่ทำงานผิดปกติ
การที่เรานอนไม่หลับนั้น ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความเครียด และความอ่อนเพลียเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารอย่างที่คาดไม่ถึงเลย เพราะการที่ร่างกายไม่ได้พักผ่อนแบบที่ควรจะเป็น ระบบย่อยอาหารนั้นก็อาจจะต้องลุกขึ้นมาทำงานกลางดึกกลางดื่น ร่างกายเราอาจไปกำนดเวลาให้น้ำย่อยออกมาในเวลาที่ไม่ควร มากัดกร่อนเนื้อกระเพาะ ลำไส้ เกิดเป็นกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้ อีกทั้งเวลาที่เราต้องการน้ำย่อย แต่มันกลับไม่มาตามนัด ทำให้อาการไม่ย่อย ท้องอืด อาจเกิดเป็นโรคกรดไหลย้อนตามมาได้อีกด้วย
7.อวัยวะถูกทำลาย ร่างกายกอักเสบ
โดยปกติในช่วงเวลากลางคืนขณะที่เรากำลังหลับฝันดีอยู่นั้น ร่างกายจะสร้างสารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารที่มีความสำคัญในการปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของเราร่างกายจากกอนุมูลอิสระที่จะเข้ามาทำร้าย ซึ่งหากเราดันไปไม่นอนพักหลับตา หรือเกิดอาการนอนไม่หลับขึ้นมา เมลาโทนินก็จะถูกสร้างในปริมาณที่ไม่เพียงพอในการต้านต่ออนุมูลอิสระ เกิดการอักเสบของอวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ ตามร่างกาย หรืออาจทำให้กลายเป็นโรคภูมิแพ้ได้เลย
แก้ปัญหาการนอน ด้วยการย้อนหาสาเหตุ
การนอนไม่หลับนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการกินอาหารที่ส่งผลต่อการนอน อย่างคาเฟอีน การออกกำลังกายจนทำให้ร่างกายตื่นตัวก่อนนอน หรืออาจเกิดจากการนอนไม่เป็นเวลาบางวันเข้านอนตั้งแต่สามทุ่ม แต่อีกวันเข้านอนตี2 รวมไปถึงความเครียดสะสม จนเกิดอาการสติคิดฟุ้งซ่านสมองทำงานไม่หยุดพัก
ซึ่งการแก้ปัญหานั้นก็ต้องสืบเสาะหาต้นเหตุว่าจริง ๆ แล้ว ที่ข่มตายังไงมันก็ไม่หลับ นับแกะเท่าไหร่มันก็ไม่หมด ว่ามันเกิดจากอะไรกันแน่ และปรับพฤติกรรมนั้น ๆ เช่นหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนนอน งดอาหารที่มีคาเฟอีน จัดให้นอนให้น่านอนอากาศถ่ายเทสะดวก นอนหลับพักไม่เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน ผ่อนคลายร่างกายและสมองก่อนนอน เพียงเท่านี้ก็น่าจะช่วยให้คุณนอนหลับสบาย หายจากอาการนอนไม่หลับได้ดียิ่งขึ้น